วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

พุทธวจนสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย ๒







พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต



หน้าที่ ๑๓๐/๔๐๗ ข้อที่ ๑๒๕


 ๕. อนายุสสสูตรที่ ๑
    [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น ๕ ประการ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑ เป็นผู้เที่ยวในกาลไม่สมควร ๑ไม่ประพฤติเพียงดังพรหม ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ฯ


 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการเป็นไฉน
คือ บุคคลเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑
เป็นผู้เที่ยวในกาลสมควร ๑ เป็นผู้ประพฤติเพียงดังพรหม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕
ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน ฯ
                

 จบสูตรที่ ๕

ที่มา. http://goo.gl/rfyKH

พุทธวัจนสำหรับผู้ที่ดูแลผู้ป่วย ๑






พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต



หน้าที่ ๑๓๐/๔๐๗ ข้อที่ ๑๒๔

 ๔. อุปัฏฐากสูตรที่ ๒
    [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่
ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้พยาบาลเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อ
จัดยา ๑ ไม่ทราบสิ่งสบายและไม่สบาย นำสิ่งไม่สบายเข้าไปให้ นำสิ่งสบายออกไป ๑ เป็น
ผู้เพ่งอามิษพยาบาล ไม่เป็นผู้มีเมตตาจิตพยาบาล ๑ เป็นผู้มักรังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ
 ปัสสาวะ อาเจียร หรือน้ำลาย ๑ ไม่สามารถจะชี้แจงให้ภิกษุไข้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาโดยกาลอันสมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วย
ธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ ฯ


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเป็นผู้
พยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้พยาบาลย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อจัดยา
๑ ทราบสิ่งสบายและไม่สบาย นำสิ่งไม่สบายออกไป ๑นำสิ่งสบายเข้ามาให้ ๑ เป็นผู้มี
เมตตาจิตพยาบาล ไม่เป็นผู้เพ่งอามิษพยาบาล ๑ไม่รังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ
อาเจียร หรือน้ำลาย ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อชี้แจงให้ภิกษุไข้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมี
กถาโดยกาลอันสมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ ฯ
                 

จบสูตรที่ ๔

ที่มา. http://goo.gl/RBAiu


 

พุทธวัจนสำหรับผู้ป่วย ๓






พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


หน้าที่ ๑๒๙/๔๐๗  ข้อที่ ๑๒๓


๓. อุปัฏฐากสูตรที่ ๑
    [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้
พยาบาลยาก 

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุไข้ย่อมไม่ทำความสบาย ๑
ไม่รู้จักประมาณในสิ่งสบาย ๑ ไม่ฉันยา ๑ ไม่บอกอาพาธที่มีอยู่ตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่
ปรารถนาประโยชน์ เช่นไม่บอกอาพาธที่กำเริบว่ากำเริบ ไม่บอกอาพาธที่ทุเลาว่าทุเลา ไม่บอก
อาพาธที่ทรงอยู่ว่ายังทรงอยู่ ๑ ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดมีในร่างกายอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน
 ไม่เป็นที่พอใจสามารถปลิดชีพให้ดับสูญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้พยาบาลยาก ฯ
     

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้พยาบาลง่าย
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุไข้ย่อมทำความสบาย ๑ รู้จักประมาณในสิ่งสบาย ๑
 ฉันยา ๑ บอกอาพาธตามความเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนาประโยชน์ เช่นบอกอาพาธที่
กำเริบว่ากำเริบ บอกอาพาธที่ทุเลาว่าทุเลาบอกอาพาธที่ทรงอยู่ว่ายังทรงอยู่ ๑ เป็นผู้อดทนต่อ
ทุกขเวทนาที่เกิดมีในร่างกายอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่พอใจ สามารถปลิดชีพให้ดับสูญ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้พยาบาลง่าย ฯ


 จบสูตรที่ ๓

ที่มา. http://goo.gl/Ob069

พุทธวจนสำหรับผู้ป่วย ๒







พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


หน้าที่ ๑๒๙/๔๐๗   ข้อที่ ๑๒๒

 ๒. สติปัฏฐานสูตร
    [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง  ย่อมเจริญทำให้มากซึ่ง
ธรรม ๕ ประการ เธอพึงหวังได้ผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี 

ธรรม๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้ด้วยดีเฉพาะตน
เพื่อปัญญาอันให้หยั่งถึงความตั้งขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย ๑
ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ 
มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูล
ในอาหาร ๑
มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ 
พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง๑ 
มีมรณสัญญาปรากฏขึ้นด้วยดี ณ ภายใน ๑ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการนี้แล เธอพึงหวังได้ผล ๒ อย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ  อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ฯ
จบสูตรที่ ๒
ที่มา. http://etipitaka.com/readlanguage=thai&number=129&volume=22

พุทธวจนสำหรับผู้ป่วย ๑


พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


หน้าที่ ๑๒๘/๔๐๗ ข้อที่ ๑๒๑











 คิลานวรรคที่ ๓
            ๑. คิลานสูตร
    [๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กุฏาคารศาลา ป่ามหาวันใกล้เมือง
เวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นเสด็จเข้าไปที่ศาลาภิกษุไข้
 ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งที่ทุรพล เป็นไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตบแต่งไว้ ครั้นแล้วได้
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็น
ไข้ เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ
อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ธรรม ๕
 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ มีความ
สำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ พิจารณาเห็นว่า
ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ มีมรณสัญญาปรากฏขึ้นด้วยดี ณ ภายใน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 ธรรม ๕ ประการนี้ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็นไข้ เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ฯ
                
 จบสูตรที่ ๑




 



ที่มา. http://etipitaka.com/read?language=thai&number=128&volume=22